วิตามินบี 12
วิตามินบี 12 หรือ Cobalamin เป็นวิตามินที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของประสาทและสมอง รวมไปถึงการสร้างเม็ดเลือดแดง และการสร้างสาย DNA การขาดวิตามินบี 12 จะทำให้มีอาการชา รู้สึกซ่าๆที่มือหรือเท้า มีอาการเหนื่อยล้าไปจนถึงซึมเศร้า
วิตามินบี 6
วิตามินบี6 หรือ Pyridoxine เป็นวิตามินที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การดูดซึมโปรตีนและไขมัน โดยเฉพาะการสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็น การขาดวิตามินบี 6 จะทำให้มีอาการโลหิตจาง หรือ อ่อนเพลียได้
วิตามินซี
วิตามินซี หรือ L- Ascorbic Acid เป็นวิตามินที่พบได้ในผักผลไม้ทั่วไป โดยเฉพาะผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว มีส่วนช่วยในเรื่องของการต่อต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย หากร่างกายไม่ได้รับวิตามินเพียงพอ อาจจะมีอาการเลือดออกตามไรฟัน ไปจนถึงผิวหนังแห้ง และแตกได้
วิตามินเอ และ เบต้าแคโรทีน
วิตามินเอมีส่วนสำคัญในเรื่องของการมองเห็น ความชุ่มชื้นของผิวหนัง รวมไปถึงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ร่างกายจะสามารถได้รับวิตามินเอได้สองทาง คือ
- จากอาหารที่มีวิตามินเอโดยตรง เช่น น้ำมันตับปลา
- จากการทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน เช่น พืชผักผลไม้ที่มีสีเหลือง หรือสีส้ม เช่น มะเขือเทศ มะละกอสุก เป็นต้น แล้วร่างกายจะสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็น วิตามินเอได้
วิตามินดี และ แคลเซียม
วิตามินดี คือ วิตามินที่มีส่วนสำคัญในการดูดซึมแคลเซียม และควบคุมการนำแคลเซียมไปใช้ในส่วนต่างๆของร่างกาย
การขาดวิตามินดี อาจจะเป็นสาเหตุของการเกิดสภาวะกระดูกพรุนได้
โฟเลต
โฟเลตและกรดโฟลิคมีอีกชื่อหนึ่งคือ วิตามินบี9 แต่ทั้งสองมีความแตกต่างกันตรงที่กดโฟลิคเป็นสารที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น แต่โฟเลตเป็นสารที่มีอยู่ในธรรมชาติ ทั้งสองอย่างมีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดง ไปจนถึงควบคุมการทำงานของประสาทและสมอง โดยเฉพาะในสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ จำเป็นต้องได้รับโฟเลตเพียงพอ เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดมามีความผิดปกติ
โอเมก้า 3 และ DHA
โอเมก้า 3 เป็นกลุ่มของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวชนิดหนึ่ง ตัวอย่างโอเมก้า 3 ที่จำเป็นต่อร่างกายคือ กรดไขมันลิโนเลอิคชนิดแอลฟา (ALA) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกายผลิตเองไม่ได้ ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นกรดไขมันนี้ให้เป็น DHA (Docosahexaenoic acid) การทานกรดไขมันเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ระดับไขมันในเลือดลดลงได้
ธาตุเหล็ก
ธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ ฮีโมโกลบิลในเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำหน้าที่คอยจับกับออกซิเจนและส่งต่อไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกาย การขาดธาตุเหล็กจะส่งผลให้โลหิตจาง อย่างไรก็ตามการทานธาตุเหล็กมากเกินไปอาจจะส่งให้เกิดการระคายเคืองในเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นต้น
วิตามินอี
วิตามินอี หรืออีกชื่อหนึ่งคือ โทโคเฟอรอล (Tocopherol) มีส่วนสำคัญในการป้องกันการแตกของเม็ดเลือด และยังทำหน้าที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามการทานวิตามินอีมากเกินไปอาจทำให้สะสมในร่างกาย เนื่องจากเป็นวิตามินที่ละลายใน
ไขมัน และอาจจะทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน