ภาวะผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย. การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องย่อมนำไปสู่ความสำเร็จในการดูแลรักษา
ในปัจจุบันมีเครื่องมือหลายอย่างที่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและการติดตามผลของการรักษาโรค

           ภาวะผมร่วงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย. การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องย่อมนำไปสู่ความสำเร็จในการดูแลรักษา

ในปัจจุบันมีเครื่องมือหลายอย่างที่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและการติดตามผลของการรักษาโรคผมร่วง
การตรวจเพิ่มเติมเพื่อ ประเมินภาวะผมร่วงแบ่งได้เป็น 2 ประเภทได้แก่

  1. การตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินภาวะผมร่วงแบบพื้นฐาน basic procedures มีหลายวิธีเช่น 1
    การเก็บและนับเส้นผมโดยตัวผู้ป่วยเอง (hair collection and count). เป็นการตรวจโดยรวบรวมเส้นผมที่หลุดร่วงในแต่ละวันติดต่อกันอย่างน้อย 7 วันในภาวะปกติไม่ควรมีผมร่วงเกิน 100ต่อวัน. หากเป็นวันที่มีการสระผมไม่ควรเกิน 200 เส้น
  2. การตรวจโดยการดึงเส้นผม(hair Pull test). วิธีนี้แพทย์จะจับ กลุ่มของเส้นผมประมาณ 50 ถึง 60 เส้นดึงแรงพอประมาณตั้งแต่บริเวณโคนผมไปถึงบริเวณปลายผม. หากมีเส้นผมหลุดติดมือมากกว่า 6 เส้น. แสดงว่า ผิดปกติ อาจจะต้องตรวจในขั้นต่อไปโดยตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์จึงทราบว่าเป็นโรคอะไร
    3 การตรวจโดยการดึงเส้นผมออกจากกัน (tug test) เป็นการตรวจเพื่อดูว่ามีความผิดปกติของเส้นผมหรือไม่(hair shaft disorder). แพทย์จะจับผม ประมาณ 10 ถึง 20 เส้นด้านนึงจับที่โคนผมและมืออีกข้างนึงจับที่ปลายผมห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตรแล้วจึงเส้นผมออกจากกันหากมีเส้นผมขาดถือว่าผิดปกติ

นอกจากนี้ยังมีการตรวจอีกหลายชนิดเช่นการตรวจผ่านกล้อง,การตรวจชิ้นเนื้อจากหนังศรีษะ
2 การตรวจเพิ่มเติมเพื่อประเมินภาวะผมร่วงแบบใหม่ (innovative procedures)
เช่นการตรวจโดยใช้กล้องขยาย,การใช้ภาพถ่ายซอฟต์แวร์ในการตรวจวัดประเมินเส้นผมและการตรวจห้องปฎิบัติการวิธีใหม่สำหรับโรคผมร่วงทางพันธุกรรม

ในบางราย. อาจจะมีโรคต่างๆที่ทำให้เกิดภาวะผมร่วงได้เช่น. โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
โรคของต่อมไธรอยด์. โรคซิฟิลิสระยะที่ 2. โรค autoimmune. หรือภาวะที่มีการติดเชื้อราบริเวณหนังศรีษะ. และโรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมน. ซึ่งจะต้องนำเลือดไปตรวจเพื่อหา โรคหรือภาวะ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
Cr. Review article วารสารโรคผิวหนัง. ของสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย